1.1 ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี ( Information Systems : IS )
หมายถึง
สิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ
และการคาดการณ์ในอนาคตได้
สารสนเทศอาจแสดงในรูปของข้อความ
ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพ
ข้อมูลและสารสนเทศมีความสำคัญต่อการนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ ดังนั้นการจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว
และทันต่อเหตุการณ์
จึงเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบธุรกิจและการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน
ความรู้ (Knowledge) หมายถึง
การรับรู้และความเข้าใจสารสนเทศจนถึงระดับที่สมารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ได้
คือมีความเข้าใจ (Understanding) ในองค์ประกอบต่างๆ
จนอาจสร้างเป็นทฤษฎี หรือเป็นแบบจำลองทางความคิด และสามารถนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้
ระบบและระบบสารสนเทศ
ระบบ (System) หมายถึง
กลุ่มของส่วนประกอบหรือระบบย่อยต่างๆ
ที่มีการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งส่วนประกอบของระบบประกอบด้วยการนำเข้าสู่ระบบ
(Input) การประมวลผล (Process)
ผลลัพธ์ (Output) และการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)
ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง
การนำเอาองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบมาใช้ในการรวบรวม บันทึก
ประมวลผล และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม
จัดการและสนับสนุนการตัดสินใจ
- การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ
เป็นกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อการประมวลผล
- การประมวลผล
เป็นการนำทรัพยากรที่ได้นำเข้าสู่ระบบมาปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่มี
ความหมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ
วางแผน ควบคุม และดำเนินงานด้าน
ต่างๆ
- ผลลัพธ์ เป็นผลผลิตที่ได้จากการประมวลผล โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือ
รายงานสารสนเทศ
นอกจากส่วนประกอบหลัก 3 ประการที่ได้กล่าวมาแล้ว
ในระบบสารสนเทศอาจมีข้อมูลสะท้อนกลับ (Feedback)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัด (Management Information Syatems:
MIS)
เป็นระบบที่ให้ข้อมูลหรือระบบสารสนเทศที่สัมพันธ์กับการดำเนินงานขององค์การ
เช่น การใช้ MIS เพื่อช่วยเหลือกิจกรรมของลูกจ้างเจ้าของกิจการ ลูกค้า
และบุคคลอื่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับองค์การ
สาเหตุที่ทำให้เกิดสารสนเทศ
1. พัฒนาการของความรู้ สิ่งประดิษฐ์
หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
2. พัฒนาการาของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
3. การพัฒนาด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร
4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการพิมพ์
5. ความจำเป็นในการใช้สารสนเทศ
ลักษณะของสารสนเทศ
1. ถูกต้องแม่นยำ (Accurate) สารสนเทศที่มีความถูกต้องจะต้องปราศจากข้อผิดพลาดใดๆ
2. สมบูรณ์ครบถ้วน (Complete) สารสนเทศที่มีความสมบูรณ์จะต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงที่สำคัญอย่างครบถ้วน
3. เข้าใจง่าย (Simple)
สารสนเทศที่มีคุณภาพจะต้องเข้าใจง่าย
ไม่ซ้ำซ้อนต่อการทำความเข้าใจ
4. ทันต่อเวลา (Timely) สารสนเทศที่ดีนอกจากจะมีความถูกต้องแล้ว
ข้อมูลต้องทันสมัยและรวดเร็วทันต่อเวลาและความต้องการของผู้ใช้ในการตัดสินใจ
5. เชื่อถือได้ (Reliable)
สารสนเทศที่เชื่อได้ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของวิธีการรวบรวมข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบ
6. คุ้มราคา (Economical) สารสนเทศที่ผลิตควรจะต้องมีความประหยัด เหมาะสมคุ้มค่ากับราคา
7. ตรวจสอบได้ (Verifiable)
สารสนเทศจะต้องตรวจสอบความถูกต้องได้
8. ยืดหยุ่น (Flexible) สารสนเทศที่มีคุณภาพนั้นควรจะสามารถนำไปใช้ได้ในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันหลายๆ
ด้าน
9. สอดคล้องกับความต้องการ (Relevant)
สารสนเทศที่มีคุณภาพจะต้องมีความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์และสนองความต้องการของผู้ใช้เพื่อการตัดสินใจ
10.สะดวกในการเข้าถึง (Accessible) สารสนเทศจะต้องง่ายและสะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูลตามระดับสิทธิของผู้ใช้
11.ปลอดภัย (Secure)
สารสนเทศจะต้องถูกออกแบบและจัดการให้มีความปลอดภัยจากผู้ที่ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลหรือสารสนเทศนั้น
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อใช้ในการจัดทำสารสนเทศ
2. ซอฟต์แวร์ (Software)
เป็นชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ตแวร์ทำงาน
3. ข้อมูล (Data) เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของระบบเพื่อใช้ในการประมวลผลให้ได้สารสนเทศในการตัดสินใจ ข้อมูลอาจอยู่ในรูปของตัวอักษร ตัวเลข
รูปภาพ และเสียง
4. การสื่อสารและเครือข่าย (Telecommunication)
เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารและแลกเปลี่ยนโปรแกรมและข้อมูลโดยผ่านสื่อนำข้อมูลต่าง
ๆ
5. กระบวนการทำงาน (Procedure) เป็นกฎหรือข้อปฏิบัติ คำแนะนำในการใช้โปรแกรมฮาร์ดแวร์ และการกระทำกับข้อมูล
6. บุคลากร (People)
เป็นบุคคลที่จัดการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ตลอดจนทำงานร่วมกับผู้ใช้เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของหน่วยงาน
ความสำคัญของระบบสารสนเทศ
1. การท้าทายของเศรษฐกิจโลก
การเจริญเติบโตของโลกเศรษฐกิจอุตสาหกรรมทำให้ระบบสารสนเทศมีความจำเป็นเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ
เพื่อช่วยขยายโอกาสทางเศรษฐกิจไม่เพียงแต่เศรษฐกิจระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเศรษฐกิจระดับโลกด้วย ดังนั้นการที่จะดำเนินงานธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในตลาดโลก
องค์การจำเป็นจะต้องมีระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เหมาะสมกับยุคของระบบเศรษฐกิจฐานความรู้
2. การแข่งขันทางการค้า
เนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่ไร้ขีดจำกัด การทำธุรกิจมีความเป็นอิสระและเสรีมากขึ้นส่งผลให้การแข่งขันทางการค้ามีความรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน
และในการที่จะแข่งขันให้ชนะคู่แข่งขันได้นั้น
ระบบสารสนเทศที่ถูกต้องและทันสมัยเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการแข่งขัน
3. การขยายเครือข่ายทางการค้า
รูปแบบธุรกิจที่แต่เดิมมีการซื้อ-ขายและให้บริการภายในประเทศที่ผลิตสินค้าเท่านั้น ปัจจุบันได้มีการขยายตลาดไปยังสาขาต่าง ๆ รูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายคือ ธุรกิจแฟรนไชส์และธุรกิจออนไลน์ในลักษณะของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ซึ่งระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการตัดสินใจและทำให้การขายการบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ใน
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ช่วยให้สารสนเทศกระจายไปยังผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว
ทำให้องค์การต่าง ๆ
ได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีคุณภาพ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้บริการลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน
ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2. ช่วยสร้างทางเลือกในการแข่งขัน
3. ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
4. ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต
ok : )
ตอบลบ