ภาพรวมของการสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย
สาส่งสัญลักษณ์ (Semaphore)
วิธีการสื่อสารที่มนุษย์สร้างขึ้นก่อนยุค โทรคมนาคม เป็นการสื่อสารโดยใช้สัญญาณหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ติดตั้งในระดับสูงทำให้ผู้ส่งสารสามารถ
สื่อได้ระยะทางไกลมากขึ้น และสามารถสื่อสารกับบุคคลอื่น ที่อยู่ห่างไกลออกไปได้ การสื่อสารประเภทนี้ มีขีดจำกัดสามารถส่งสัญญาณได้ใน ระยะสายตาหรือบรรยากาศการมองเห็นเอื้ออำนวยเท่านั้น
โทรเลขเชิงแสง (Optical Telephony)
เครื่องมือสื่อสารที่มนุษย์สร้างขึ้น โดยเป็นระบบโทรคมนาคมประเภทแรกของโลกที่ “เป็นระบบ มีหลักการและวิธีการใช้งานซ้ำได้และได้รับการ ยอมรับ” อาศัยหลักการการมองเห็นจากระยะไกล โดยใช้สัญลักษณ์แทนตัวอักษร (A-Z) และตัวเลข (1-10) ประกอบด้วยแกนควบคุม (Regulator) และแขน (Indicator) ของเครื่องมือนี้ในการส่งสัญญาณผู้ส่งสารจะปรับเปลี่ยนแขนของโทรเลขเชิงแสงให้มีรูปร่างตามตัวอักษรที่ได้ กำหนดไว้จึงทำให้สามารถแทนข่าวสารต่างๆ ได้ด้วยการปรับรูปร่างของแขนสัญลักษณ์นี้ โดยสามารถส่งข่าวสารต่อไปเป็นทอด ๆ จากสถานีรับ ๑ ไปยังสถานีรับ ๒ และต่อไป จนกระทั่งถึงสถานีปลายทาง อันเป็นการเพิ่มระยะทาง ส่วนความเร็วจะขึ้นอยู่กับความชำนาญ ของผู้ใช้งานทั้งภาค ส่งและภาค รับ รวมทั้งทัศนวิสัยในขณะที่ทำการส่งสารด้วย สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศหรือไอทียู (International Telecommunication Union: ITU) (Radio Communication: ITU-R) การกำหนดมาตรฐาน ด้านโทรคมนาคม (Telecommunication Standardization:ITU - T) และการพัฒนาด้าน โทรคมนาคม (Telecommunication Development: ITU-D) ของโลกการเปลี่ยนแปลง โครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่ของไอทียูเกิดขึ้น เมื่อวันที่ ๑ มกราคม ๒๕๓๖ (ค.ศ. 1993) ด้วยการควบรวมสององค์กรใหญ่ คือ คณะกรรมาธิการที่ปรึกษาด้านโทรเลขและโทรศัพท์ ระหว่างประเทศหรือ ซีซีไอทีที (International Telegraph and Telephone Consultative Committee: CCITT) กับคณะกรรมการที่ปรึกษาการวิทยุ ระหว่างประเทศ หรือซีซีไออาร์ (Consultative Committee on International Radio:CCIR) โดยเปลี่ยนเป็น ITU-T และ ITU-R ตามลำดับ |
๒. บทคัดย่อ ![]() |
การนิยามและการให้ความหมายของคำว่า “โทรคมนาคม” โดยทั่วไปนั้นอยู่บนมูลเหตุพื้นฐานหลักสองด้าน คือภาษาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมสมัย
ความหมายโดยรวมของสารานุกรมโทรคมนาคมไทย พ.ศ. ๒๕๕๑ คือ “การสื่อสาร ที่ช่วยลดระยะทางระหว่างบุคคล อุปกรณ์หรือระบบอัตโนมัติที่สร้างขึ้น เพื่อใช้สำหรับการส่ง แพร่กระจายหรือนำพา ด้วยวิธีการทาง กลไฟฟ้า แสง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ทางควอนตัมสำหรับการสื่อสัญญาณ ข้อความ เสียงภาพหรือสื่อประสมให้ผู้รับหรือระบบ สามารถเข้าใจได้”ซึ่งวิวัฒนาการของการโทรคมนาคมนั้นเริ่มต้นจากการใช้มนุษย์ เป็นผู้ส่งสารและพัฒนามาเป็นการส่งสาร ด้วยสิ่งประดิษฐ์ จากธรรมชาติ โดยใช้สัญลักษณ์ต่างๆ เช่น สัญญาณควัน สัญญาณไฟ หรือสัญญาณเสียง ซึ่งมีขอบเขตจำกัด ดังนั้นมนุษย์จึงได้มีการพัฒนาและคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ ทาง ด้านโทรคมนาคมขึ้น เพื่อก้าวข้ามขอบเขตนั้นๆด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดเทคโนโลยี ที่ใช้สำหรับการสื่อสารโทรคมนาคมขึ้นมากมาย ซึ่งทำให้สามารถสื่อสาร กันได้อย่างรวดเร็ว และได้ระยะทางที่ไกลมากขึ้น เริ่มต้นการพัฒนาจากการสื่อสารระหว่างบุคคล กลายเป็นการสื่อสารระดับเครือข่ายระหว่างประเทศ และ และครอบคลุมทั่วโลกในที่สุด |
Abstract ![]() |
The Thai telecommunication encyclopedia (2008 edition) presents “telecommunications” as “communication that eliminates distance between persons, equipments, or any automatic system. It is used with any kind of electro-mechanic, light, electromagnetic wave, or the specific quantum properties, in order to deliver understanding signs, signal, text, sound, picture or multimedia to the receiver.” This is derived from those of the world’s telecommunication development. Starting from sending smoke, fire, or sound signals, it was then replaced by mechanical telegraph, copper wires, electromagnetic waves, optical fiber, and so on. Telecommunication significantly reduces time of those messages transportation over the distances covering person to person communication through the network level of regional, national, and international connections..
|
๓. พัฒนาการการสื่อสารของมนุษย์ ![]() |
ข่าวสารหรือสิ่งที่มนุษย์ต้องการที่จะสื่อสารให้กับผู้ที่อยู่ห่างไกลได้รับรู้นั้นในอดีต ก่อนที่จะได้มีการพัฒนาระบบโทรคมนาคม การนำส่งสาร
ดังกล่าว กระทำได้ด้วย “ผู้นำสาร (Messenger/Courier)” ที่จะนำเอาข่าวสารไปส่งอาจจะด้วยการเดินเท้าหรือคมนาคมอื่นๆ เช่นนำส่งด้วยยานพาหนะหรือสัตว์ที่มีอยู่ในแต่ละยุคสมัยทั้งทางบกและทางน้ำจนกระทั่งมนุษย์ได้พัฒนา “สื่อ” ธรรมชาติที่สามารถเตรียมข่าวสารให้ส่งได้รวดเร็วขึ้นกับระยะทางที่อยู่ห่างไกลของผู้รับด้วยการส่งสัญญาณไฟ ควัน หรือสัญญาณเสียงต่างๆ ดังรูปที่ ๓.๑ ซึ่งเป็นสื่อที่เดินทางไปได้ไกลหรือผู้รับสามารถได้ยินมองเห็นหรือสังเกตได้จากระยะไกล แต่ระยะทางที่สื่อสารได้ก็ยังคงจำกัด จากการ“ส่ง”ข่าวสารและ“สื่อ”ข่าวสารของทั้งสองประเภทในอดีตก่อนยุคโทรคมนาคมนี้ นั้นสามารถจำแนกศักยภาพพื้นฐานออกได้ด้วยข้อดีข้อด้อย ดังตารางที่ ๓.๑ ตารางที่ ๓.๑ ประเภทและศักยภาพการสื่อสารของมนุษย์ก่อนยุคโทรคมนาคม
ตั้งแต่อดีตกาล จนถึงยุคสงครามโลกครั้งที่สอง เป็นที่เด่นชัดว่า ภาวะสงคราม เป็นสาเหตุหลัก ที่ขับดันให้มนุษย์ คิดค้นวิธี ที่จะจัดส่งข่าวสาร ให้ได้
รวดเร็วที่สุด เนื่องจาก “สื่อ” ที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมา มีความสามารถและระยะทางที่สื่อสารได้อย่างมีขอบเขตจำกัด เช่น สัญญาณไฟ มีข้อจำกัดการ ใช้งานเฉพาะช่วงเวลากลางคืน หรือในช่วงทัศนวิสัยที่เหมาะสม รวมถึงสัญญาณควันที่คล้ายคลึงกัน ส่วนสัญญาณเสียงจากกลอง แตร หรือต้นกำเนิดเสียง ร่วมสมัยอื่นๆ นั้นก็มีระยะทางที่ผู้รับจะสังเกต หรือได้ยินที่จำกัดเช่นกัน ในที่สุดมนุษย์ จึงได้คิดค้นต่อยอดในการขยายระยะดังกล่าวนั้นออกไปด้วยการ สร้างประภาคาร (Beacon) เพื่อส่งสัญญาณดังกล่าว (ไฟและควัน) ให้ได้ไกลขึ้นหรือสังเกตได้จากระยะที่ไกลขึ้นจึงทำให้เกิดเป็นระบบการสื่อสารแรกของมนุษย์ที่เกินขอบเขตปกติของ “สื่อ” ที่สร้างได้จากธรรมชาติโดยที่อยู่บนพื้นฐานของการสื่อสารเชิงแสง (Optical Communication สื่อสารด้วยสัญญาณเชิงแสงลักษณะนี้ได้กลายเป็นระบบโทรคมนาคมระบบแรก ในเวลาต่อมานั่น ก็คือ ระบบส่งสัญลักษณ์เชิงแสงหรือด้วยเสาส่งสัญลักษณ์ (Semaphore) ดังรูปที่ ๓.๒ |
๔. ที่มาของคำว่า “โทรคมนาคม” ![]() |
ความหมายที่มีต่อคำว่า “โทรคมนาคม (Telecommunication)” ได้รับการนำเสนอไว้ในแหล่งข้อมูลหรือจากการนิยามของผู้รู้และองค์กรที่เกี่ยวข้องด้านเทคนิค ประวัติศาสตร์และภาษาจำนวนมาก เช่น
1) คำว่า “โทร” มีพื้นฐานมาจากคำว่า “tele” ในภาษากรีก หมายถึง “ไกลออกไป (far away)” และคำว่า “คมนาคม (Communication)” มาจากภาษาละตินพื้นฐานของคำ “Communicare” หมายถึง การใช้งานร่วมกับผู้อื่น ความหมายรวมพื้นฐานจึงได้รับการนำเสนอว่า “การสื่อสารที่ครอบคลุมระยะทางที่ไกลออกไป” [๑] 2) จากคำศัพท์มาตรฐานของสมาคมสถาบันวิศวกรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (Institute of Electrical and Electronics Engineers) ให้คำนิยามโทรคมนาคมว่า “การสื่อสัญญาณระยะทางไกลเช่น โดยใช้โทรเลข วิทยุหรือโทรทัศน์ เป็นต้น (the transmission of signals over long distance, such as by telegraph, radio, or television)”[๒] 3) พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ระบุว่า “โทรคมนาคม” หมายถึง การส่ง การกระจาย หรือการรับภาพ เครื่องหมาย สัญญาณ ข้อเขียน เสียง หรือการกระทำให้เข้าใจด้วยวิธีใดๆ โดยอาศัยระบบสาย วิทยุสื่อสารหรือระบบแม่เหล็กไฟฟ้าอื่นๆ [๓] 4) สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) ได้ให้คำจำกัดความอย่างเป็นทางการครั้งแรกต่อคำว่าโทรคมนาคมในปี พ.ศ.๒๔๗๕(ค.ศ.1932)ว่า“การสื่อสารใดๆ ไม่ว่าจะด้วยโทรเลขหรือโทรศัพท์ เพื่อส่งสัญลักษณ์ สัญญาณ ข้อความ ภาพและเสียงใดๆ ทางสายส่งคลื่นวิทยุ หรือระบบอื่นๆ หรือกระบวนการส่งสัญญาณทางไฟฟ้าหรือการมองเห็น(เสาส่งสัญลักษณ์)ต่าง ๆ(any telegraph or telephone communication of signs, signals, writings, images and sound of any nature , by wire, radio, or other system or processes of electric or visual (semaphore) signaling)” ต่อมาในภายหลังไอทียู (ITU) ได้ปรับเปลี่ยนคำนิยามใหม่เป็น “การส่งแพร่กระจายหรือการรับสัญลักษณ์ สัญญาณ ข้อความ ภาพและเสียงใดๆหรือหมายถึงกระบวนการที่คิดค้นขึ้นเพื่อการใช้งานคุณสมบัติปกติของสายส่งคลื่นวิทยุ การมองเห็น หรือระบบทางแม่เหล็กไฟฟ้า(any transmission, emission, or reception of signs, writings, images, and sounds; or intelligences of any nature by wire, radio, visual, or other electromagnetic system)” [๔] 5) คำว่า “Telecommunication” ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นเป็นทางการ โดยพื้นฐานมาจากหนังสือของเอดวาร์ด เอสโทนี (Edouard Estaunie) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๐๕ – ๒๔๘๕ (ค.ศ. 1862-1942) โดยหนังสือดังกล่าวมีชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศส “Traité pratiqus de télécommunication electrique (télégraphie-téléphonie)” ซึ่งได้นิยามความหมายของคำว่าโทรคมนาคมไว้อย่างมีข้อจำกัด คือ “การแลกเปลี่ยนข่าวสารด้วยสัญญาณทางไฟฟ้า (Information exchange by means of electrical signals)” อันเป็นยุคเริ่มต้นที่มีการใช้ไฟฟ้าเป็นหลักสำหรับระบบการสื่อสารในสมัยนั้น [๔] (ซึ่งยังมิได้มีการใช้สัญญาณประเภทอื่นเช่น แสงเพื่อการสื่อสาร)
6) คำจำกัดความที่เด่นชัดของการรวบรวม“ประวัติโทรคมนาคมโลก (The Worldwide History of Telecommunications)” โดยแอนทัน ฮวร์ดเดอร์มัน (Anton A.Huurdeman) นิยามให้โทรคมนาคมคือ“เทคโนโลยีแขนงหนึ่งซึ่งใช้ช่วยลดระยะทางระหว่างทวีป ประเทศหรือระหว่างบุคคล” [๔]
7) พจนานุกรมเคมบริดจ์ แอดวานซ์ เลิร์นเนอร์ (Cambridge Advanced Learner’s Dictionary) ระบุว่า “โทรคมนาคม” หมายถึง “การส่งและการรับข้อความข้ามระยะทาง ตัวอย่างที่เด่นชัดเช่น โทรศัพท์ วิทยุและโทรทัศน์ เป็นต้น” (the sending and receiving of messages over distance, especially by telephone, radio and television.)[๕] 8) พจนานุกรมคอลลินซ คูบิลด แอดวานซ์ เลิร์นเนอร์ (Collins - Cobuild Advanced Learner’ s English Dictionary 2006 ) ระบุว่า “โทรคมนาคม” หมายถึง “เทคโนโลยี ของการส่งสัญญาณและข้อความในระยะทางไกลด้วยการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น วิทยุหรือโทรศัพท์ ” (Telecommunications is the technology of sending signals and messages over long distances using electronic equipment, for example by radio and telephone.) [๖] 9) สารานุกรมบริแทนนิกา(Britannica) ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า“วิทยาการและการดำเนินการของการส่งข่าวสารด้วยวิธีการทางแม่เหล็กไฟฟ้า โดยข่าวสารหลากหลายประเภท สามารถส่งผ่านระบบโทรคมนาคมได้ ซึ่งรวมทั้งเสียง และเสียงดนตรี ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ไฟล์ข้อมูลและการประยุกต์อื่นๆ ทางคอมพิวเตอร์ รวมถึงการส่งข้อมูลทางไกลต่าง ๆ (Science and practice of transmitting information by electromagnetic means. A wide variety of information can be transferred through a telecommunications system, including voice and music, still-frame and full motion pictures, computer files and applications, and telegraphic data.)” [๗] 10) ความหมายจากพจนานุกรมของเวปเสทอร์ ปี พ.ศ. ๒๕๓๗ (Merriam - Webster) ให้คำนิยามโทรคมนาคมที่กระชับไว้ว่า “การสื่อสารที่มีระยะทาง(Communication at a distance)” [๘] จากความหมายของคำว่าโทรคมนาคมทั้งหมดดังกล่าว เกิดจากความคิด ที่จะกำหนดหรือนิยามอันอยู่บนพื้นฐานของสองมูลเหตุหลัก คือ ทางด้าน “ภาษาศาสตร์” ซึ่งอาจมีต้นกำเนิดของคำในภาษาท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับสภาพสังคม วัฒนธรรม และความก้าวหน้าของสังคมนั้นๆ ที่อาจแตกต่างกันไปด้วย (เช่น communicare [๑] communicatio [๔] ในภาษาละติน) แต่อย่างไรก็ตามในแต่ละสังคมและภาษาทั่วไปได้ให้ความหมายถึงนัยที่คล้ายกัน รวมทั้งประเด็นของมูลเหตุ “เทคโนโลยีร่วมสมัย” ที่ปรากฏมีใช้อยู่ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งทำให้ความหมายของ “โทรคมนาคม” อาจต้องปรับตามให้ทันสมัยต่อมาในภายหลังด้วย(เช่น ความหมายจาก จ) ที่ยังมิได้รวมเอาเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่กว่าเข้าไปด้วย) โดยรวมแล้วของความหมายทั้งทางด้าน “ภาษา” และ “เทคโนโลยี” ดังกล่าวนี้สามารถนำมาพิจารณาร่วมกันให้ครอบคลุมทั้งทางด้านภาษา พื้นฐาน ความหมายและเทคโนโลยีร่วมสมัยหรือเทคโนโลยีที่ได้รับการคาดการณ์สำหรับประยุกต์ใช้กับระบบโทรคมนาคมแล้วด้วย ดังนั้นสารานุกรมโทรคมนาคมไทยฉบับ “ปั้นให้เกิด” ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ นี้ นำเสนอ ความหมายของคำว่า “โทรคมนาคม” คือ “การสื่อสารที่ช่วยลดระยะทางระหว่างบุคคลอุปกรณ์หรือระบบอัตโนมัติที่สร้างขึ้นเพื่อใช้สำหรับการส่งแพร่กระจายหรือนำพาด้วยวิธีการทางกลไฟฟ้าแสง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ทางควอนตัมสำหรับการสื่อสัญญาณ สัญลักษณ์ ข้อความ เสียง ภาพหรือสื่อประสมให้ผู้รับ หรือระบบสามารถเข้าใจได้” |
๕. วิวัฒนาการหลักของระบบโทรคมนาคม ![]() |
จากความต้องการของมนุษย์ ที่ต้องการสื่อสารนำข่าว ที่ต้องการส่งออกไปยังผู้รับที่อยู่ในระยะห่างไกล และต้องการให้ถึงผู้รับในเวลาที่รวดเร็วขึ้นด้วยนั้น ในขณะที่พัฒนาการด้านระยะทางยังคงจำกัดเมื่อใช้ “สื่อ” สัญญาณจากธรรมชาติดัง ตารางที่ ๓.๑ ดังนั้นมนุษย์ จึงได้พยายาม ที่จะสร้างสรรค์วิธีการให้ “สื่อ” ต่างๆ เหล่านั้น มีความสะดวก ในการแทนความหมายของข่าวสาร และทำได้รวดเร็วขึ้น จากเดิมสัญญาณไฟ ควัน หรือเสียง ที่ถูกจำกัดด้านระยะทางและอาจไม่ปลอดภัย หากข่าวสารที่เผยแพร่นั้นได้ถึงมือผู้รับอื่น ที่ไม่พึงประสงค์ พัฒนาการเพื่อเอาชนะขอบเขตของธรรมชาติ จึงได้ปรากฏขึ้น กับสิ่งประดิษฐ์แรกด้านโทรคมนาคมที่มีพื้นฐานของการนำสัญญาณข่าวสารต่าง ๆ ที่ต้องการสื่อสารมายกระดับความสูงขึ้น เพื่อเพิ่มระยะทางจนกลายมาเป็น “ โทรเลขเชิงแสง (Optical Telegraphy) ” หรือที่เรียกว่า การสื่อสารด้วยเสาส่งสัญลักษณ์ (Semaphore Communication) อันเป็นการเปิด ยุค
โทรคมนาคมยุคแรก ซึ่งความหมายของยุคโทรคมนาคมนี้ คือ “เป็นระบบ มีหลักการและวิธีการ ใช้งานซ้ำได้และได้รับการยอมรับ” จากพัฒนาการของโทรคมนาคมระบบแรกที่อยู่บนพื้นด้านการใช้แสงเป็น“สื่อ” นี้ ยังมีขอบเขตจำกัดหลายด้านทำให้มนุษย์ได้พยายามคิดค้นพัฒนาระบบอื่น ๆ ตามมา เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดของระยะทางและความเร็วของระบบก่อนๆ หน้ามาอย่างต่อเนื่อง การคิดค้นนั้นอยู่บนพื้นฐานทั้งของวิทยาการและการประยุกต์ใช้งานที่เป็นตัวช่วยกำหนดทิศทางการพัฒนามาตั้งแต่อดีต ดังนี้ โทรเลขเชิงแสงหรือระบบการสื่อสารที่อยู่บนขอบเขตของการมองเห็นจากระยะไกลได้กลายเป็นระบบโทรคมนาคมที่มีความสำคัญสูงร่วมสมัยในยุคที่ค้นพบและมีใช้งานกว่าครึ่งศตวรรษ [๔] แม้ว่าการประยุกต์ใช้กล้องส่องทางไกล เพื่อช่วยเพิ่มระยะทางการสื่อสารหรือการมองเห็นได้ ระบบโทรเลขเชิงแสงนั้นก็ได้ลดความสำคัญลง เมื่อระบบสื่อสารที่มีพื้นฐานการใช้ไฟฟ้าเข้ามาทดแทน เช่น โทรเลขไฟฟ้า เป็นต้น ต่อมาวิทยาการด้านแม่เหล็กไฟฟ้า ก็ได้ขับดัน ให้เกิดระบบโทรคมนาคมอื่นๆ เข้ามาร่วมกับโทรเลขไฟฟ้ามากขึ้น การส่งสัญญาณโทรเลข ผ่านสายกระทำได้ในระยะทางไกลและไกล จนกระทั่งการส่งโทรเลขสามารถใช้สื่อสารข้ามมหาสมุทรได้เกิดเป็นการปฏิวัติการสื่อสารโทรคมนาคม ของโลกครั้งใหญ่ และเกิดระบบอื่นๆ ต่อเนื่องตามมาด้วยคือ “โทรพิมพ์ (Teleprinter)” “เทเลกซ์ (Telex)” และ “เทเลเทกซ์ (Teletext)” ตามลำดับ พัฒนาการของความเข้าใจด้านไฟฟ้าและการค้นพบกฏทางไฟฟ้าต่างๆ (Laws of Electricity) ได้ผลักดันไปสู่การพัฒนาสายส่งสัญญาณที่มีคุณภาพดีขึ้น มีการลดทอน (Attenuation) และการบานออกของสัญญาณ (Dispersion) ที่น้อยลงทำให้ระยะทางของการส่งสัญญาณ ทางไฟฟ้าทางสายส่งทำระยะได้ไกลมากขึ้น จากการสื่อสารระดับประเทศ ได้กลายเป็นการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ และต่อเข้าเป็นเครือข่าย การสื่อสารได้ทั่วทุกทวีปในเวลาต่อมา รวมทั้งการพัฒนาเทคนิค การส่งสัญญาณจากแบบแอนะล็อกไปสู่ดิจิทัล และเกิดระบบการตัดต่อสัญญาณหรือเทคโนโลยีชุมสาย (Switching) ก็ได้ทำให้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมกลายเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงมนุษย์เข้าด้วยกันมากขึ้น จากระบบสื่อสารด้วยสัญญาณไฟฟ้า ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเหล่านั้น กอปรกับการประยุกต์ ความรู้ด้านเสียง จึงเกิดเป็นระบบโทรศัพท์ ที่มนุษย์ สามารถสื่อสารให้เข้าใจกันได้ในทันที โดยไม่ต้องแปลงสัญญาณด้วยสัญลักษณ์ต่าง ๆ ส่วนวิทยาการด้านระบบอัตโนมัติ (Automation) ในขบวนการทางอุตสาหกรรมต่างๆ ก็ได้มีส่วนช่วยพัฒนาระบบชุมสาย เพื่อติดต่อเชื่อมโยงสัญญาณโดยได้รับการปรับปรุงจากการใช้แรงงานคน (Manual) มาเป็นระบบเครื่องกลไฟฟ้า (Electro – Mechanical Switching) หรือครอสบาร์ (Crossbar) และกลายเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ จนถึงระบบดิจิทัลในที่สุด จุดเปลี่ยนที่ยิ่งใหญ่เหตุการณ์หนึ่ง ของระบบโทรคมนาคม เกิดขึ้นเมื่อมีการค้นพบ การแพร่กระจายคลื่นวิทยุ จนสามารถนำไปประยุกต์ จนเกิดเป็น ระบบโทรเลขไร้สาย (Radio Telegraphy)ในยุคเริ่มต้นจนถึงการสื่อสารด้วยเสียงแบบไร้สายต่อเนื่องมา ควบคู่กับพัฒนาการด้านอิเล็กทรอนิกส์ การค้นพบทานซิสเตอร์ และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ความถี่สูง ทำให้เกิดการสื่อสารระยะไกลแบบไร้สายด้วยระบบคลื่นวิทยุ (Radio Relay) ต่อเนื่องมาจากระบบไร้สายที่เกิดขึ้นก่อนหน้า วิวัฒนาการที่ได้ปรับเปลี่ยนโฉมหน้าของระบบโทรคมนาคมโลกอีกสองประเภทหลักคือ การพัฒนาหน่วยทวนสัญญาณออกไปติดตั้งนอกโลก เพื่อครอบคลุมการสื่อสารในวงกว้าง กลายเป็นระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียม รวมทั้งการนำแสงซึ่งมนุษย์เคยได้นำมา ใช้ในระบบโทรคมนาคมแรก สำหรับโทรเลขเชิงแสงแล้วนั้น นำมาใช้สำหรับการส่งผ่านเส้นใยนำแสงได้ ด้วยความเร็วการส่งข่าวสารสูงมาก ซึ่งทั้งหมดนี้ได้ปฏิวัติโลกการสื่อสารโทรคมนาคมอย่างมีนัยสำคัญ จากโครงสร้างของระบบโทรคมนาคม ที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ผลลัพท์ที่เกิดขึ้นได้ช่วยขับเคลื่อนวิทยาการแขนงอื่นๆ ด้านไฟฟ้าสื่อสารด้วย เช่น การประมวลผลสัญญาณและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ให้มีความเจริญรุดหน้า เกิดเป็นการคิดค้นระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ และเครือข่ายการสื่อสาร อินเทอร์เน็ต ที่ปฏิวัติการสื่อสารของมนุษย์ไปทั่วโลกต่อมาอีกหลายครั้ง ภาพรวมโดยสังเขปนี้ ทำให้ทราบถึงพัฒนาการ ของระบบโทรคมนาคม ที่มนุษย์สร้างขึ้นใช้งาน เพื่อข้ามขอบเขตของระยะทาง ที่ใช้ติดต่อสื่อสาร พร้อมกับการพัฒนา ด้านความเร็วการส่งข่าวสารที่สูงขึ้นและสะดวกในการใช้งานกว่าเดิม ซึ่งมีทั้งที่ยังคงใช้งานอยู่และที่ได้ล้าสมัยไปแล้ว วิทยาการ รากฐานและการประยุกต์ทั้งหมด ได้สร้างสรรค์ระบบโทรคมนาคมบนโลกนี้มากกว่าสองร้อยปี โดยวิวัฒนาการระบบโทรคมนาคมหลัก โดยรวมของโลกดังกล่าว สรุปดังรูปที่ ๕.๑ |
๖. พื้นฐานเทคนิคทั่วไปของระบบโทรคมนาคม ![]() |
จากวิวัฒนาการระบบโทรคมนาคมหลักของโลกที่มนุษย์สร้างสรรค์ เมื่อนำมาประกอบกันเพื่อพิจารณาในมุมมองด้านเทคนิค สามารถทำความเข้าใจได้จากภาพรวมรูปที่ ๖.๑ การสื่อสารหรือการรับส่งข้อมูลข่าวสารใด ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบส่วนบุคคลในขอบเขตเครือข่ายระดับท้องถิ่นหรือ ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ จนถึงการติดต่อสื่อสารข้ามประเทศ โครงสร้างของระบบโทรคมนาคมดังกล่าวจะมีองค์ประกอบพื้นฐานคล้ายกัน คือ มีส่วนย่อยของระบบประกอบด้วย อุปกรณ์สื่อสารต้นและปลายทาง (Terminal Unit) ระบบสื่อสัญญาณ (Transmission System) และระบบตัดต่อหรือชุมสาย (Switching System) และเมื่อนำมาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ก็จะกลายเป็นเครือข่ายของผู้ใช้งานหรือผู้เข้าถึงเครือข่าย (Access Networks) ที่เชื่อมต่อเข้ากับ
ชุมสายท้องถิ่น (Local Switching, Local Exchange, Central Offices) ซึ่งอาจจะโดยการใช้ระบบคู่สายส่งหรือสายนำสัญญาณ เส้นใยนำแสง หรือคลื่นวิทยุ เป็นต้น หลังจากนั้นจากเครือข่ายระดับท้องถิ่นจะได้รับการเชื่อมโยงร่วมกับเครือข่ายท้องถิ่นอื่น ๆ รวมถึงเครือข่ายระดับภูมิภาค หรือระดับชาติผ่านไปยังชุมสายทางไกล (Transport Network, Tandem Exchanges, Toll/Trunk Exchange) โดยอาจเชื่อมโยงด้วยระบบวิทยุ สายเคเบิล เส้นใยนำแสง หรือดาวเทียม เช่นเดียวกันสำหรับการเชื่อมโยงในระดับการสื่อสารข้ามประเทศผ่านทางชุมสายทางไกลต่างประเทศ (International Exchange)ซึ่ง ทั้งหมดนี้อาจอยู่บนพื้นฐานโครงสร้างการเชื่อมโยงและการตัดต่อทางวงจรไฟฟ้า (Circuit Switching) เพื่อการสื่อสารได้ทั้งเสียง ภาพและข้อมูล หรือระบบถัดมาแบบใหม่กว่า ที่ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญ ต่อมานั้น คือ เชื่อมโยงด้วยการตัดต่อข้อมูลแบบกลุ่มข้อมูล (Packet Switching) ของเครือข่ายแบบเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต (Internet Protocol: IP) |
๗. จดหมายเหตุ (Milestones)![]() |
เหตุการณ์สำคัญด้านความหมายของโทรคมนาคมโลก แสดงดังตารางที่ ๗.๑
ตารางที่ ๗.๑ เหตุการณ์สำคัญของ “โทรคมนาคม” โลก
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น